บทที่ 1

บทนำ


1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

ระบบจัดการคลังสินค้าในปัจจุบัน การจัดการสินค้าใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูลของสินค้า จะได้ข้อมูลสินค้านั้นๆ เพียงข้อมูลของรหัสสินค้า และแถบรหัสบาร์โค้ด (barcode) เลือนได้ง่าย ทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ยาก การนำเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) มาแทนระบบเก่า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วและจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งข้อมูลที่สามารถเก็บได้มากขึ้นตามขนาดของหน่วยความจำ การอ่านด้วยคลื่นวิทยุทำให้อ่านข้อมูลจากแท๊กซ์(tag)ได้ง่าย และสามารถอ่านได้ในระยะไกล และตัวอ่านบางชนิดยังสามารถอ่านข้อมูลได้ทีละหลายสินค้าพร้อมกันโดยเราไม่ต้องนำตัวอ่านข้อมูลยิงลำแสง เพื่ออ่านค่าบนแถบรหัส แต่เราสามารถนำสินค้าเคลื่อนที่ผ่านตัวอ่านแทน โดยจะใช้การส่งข้อมูลเป็นสัญญาณวิทยุเพื่ออ่านข้อมูลจากแท็กซ์( ทำหน้าที่เหมือนแถบรหัสบนบาร์โค้ด แต่เก็บข้อมูลได้มากกว่า ) และนำข้อมูลที่ได้จัดเก็บลงฐานข้อมูล หรือแสดงผลบนจอ ซึ่งจากเดิมแถบบาร์โค้ดสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงรหัสสินค้าและทำการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลแต่แท็กซ์จะเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของมันเองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญได้มากขึ้น เช่น ที่มาของสินค้า ตำแหน่งจัดวางสินค้า วันหมดอายุของสินค้า ฯลฯ และในกรณีที่สินค้าเกิดการเสียหายหรือชำรุด สามารถดูข้อมูลจากแท็กซ์ซึ่งเราสามารถรู้ถึงที่มาได้ทันทีหรือเมื่อสินค้าเข้า-ออกจากคลังสินค้าเราสามารถตรวจสอบสินค้าจากแท็กซ์ได้ว่าสินค้าแต่ละชิ้นนั้นได้ถูกนำมาจากที่ใด ส่งออกไปยังสถานที่ใดและยังทำให้ง่ายต่อการอ่านจำนวนสินค้าที่ขนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งจะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการระบบคลังสินค้าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีบาร์โค้ดได้มากขึ้น


การพัฒนาโครงการเริ่มจากศึกษาการจัดการระบบคลังสินค้า และประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ RFID เพื่อนำอุปกรณ์ RFID มาใช้ร่วมกับระบบคลังสินค้า ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบคลังสินค้าโดยใช้แผนภาพ UML (Unified Modeling Language) พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อช่วยในการจัดการคลังสินค้า โดยนำระบบ RFID มาใช้ในการจัดการสินค้าทั้งส่วน สินค้าเข้า สินค้าส่งออก การค้นหาสินค้า การขายสินค้า รวมถึงการเข้าออกของพนักงานตามเวลาการทำงาน และพัฒนาส่วนการทำงานการจัดการคลังสินค้าที่ไม่ใช้ระบบ RFID เช่น การสั่งสินค้า เป็นต้น

การนำเทคโนโลยี RFID มาช่วยในการจัดการคลังสินค้า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งความเร็ว แม่นยำและข้อมูลได้มากขึ้น แต่การนำระบบ RFID มาใช้ในระบบคลังสินค้า หรือในระบบอื่นๆ ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจาก แท๊กซ์ที่มีราคาแพงเมื่อเทียบกับกำไรที่ได้จากสินค้า ซึ่งในอนาคตจะได้เห็นการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น


1.2 วัตถุประสงค์

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าดังต่อไปนี้

1.2.1 นำ RFID มาใช้กับระบบจัดการคลังสินค้า

1.2.2 พัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่ออ่านข้อมูลจาก RFID Reader นำไป

แสดงผลยังโปรแกรม

1.2.3 พัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคลังสินค้าบนระบบฐานข้อมูล

1.2.4 พัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดการคลังสินค้า


1.3 ขอบเขตของโครงการ


โครงการนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการคลังสินค้าโดยใช้เทคโนโลยี RFID ซึ่งออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีขอบเขตของฟังก์ชั่นการทำงานดังนี้


1. ฟังก์ชั่นของการสั่งสินค้าจากโรงงานผลิตเพื่อให้คลังสินค้าสามารถสั่งสินค้าเพิ่มได้เมื่อจำนวนสินค้าลดลงเหลือน้อยกว่าที่ได้ทำการกำหนดไว้


2. ฟังก์ชั่นการรับสินค้าเข้ามาจัดเก็บภายในคลังสินค้าซึ่งจะแสดงข้อมูลที่อยู่ภายในแท๊กส์ โดยการดึงข้อมูลในฐานข้อมูลการสั่งสินค้าและมีการระบุตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้า


3. ฟังก์ชั่นตรวจสอบสินค้าในคลังสินค้าช่วยในการค้นหาสินค้าที่ต้องการโดยสามารถหาสินค้าที่มีจำนวนเหลือน้อยกว่าปริมาณที่ได้กำหนดไว้และสามารถทำการค้นหาข้อมูลในแต่ละส่วนของข้อมูลที่ต้องการได้


4. ฟังก์ชั่นการส่งออกสินค้าเป็นการส่งออกสินค้าไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นลูกค้า หรือส่งสินค้าไปให้กับคลังสินค้าย่อย โดยการนำสินค้าส่งออกผ่านระบบ RFID


5. ฟังก์ชั่นของระบบการขายสินค้าโดยอ่านข้อมูลผ่านตัวอ่าน RFID






1.4 แผนการดำเนินงาน

โครงการนี้แบ่งระยะเวลาการดำเนินงานออกเป็น 6 ส่วนด้วยกันและแสดงแผนการดำเนินงานไว้ตามตารางที่ 1.1

ตารางที่1.1 ระยะเวลาแผนการดำเนินงาน


1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ RFID และนำความรู้ในการพัฒนาไปต่อยอดกับระบบที่ใหญ่ขึ้น

2. เรียนรู้โครงสร้างของระบบการจัดการคลังสินค้าที่และการจัดการคลังสินค้า

3. พัฒนาการเขียนโปรแกรมส่วนติดต่อ RFID และแอพพลิเคชั่นเพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน














บทที่ 2

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบาร์โค้ดและเทคโนโลยี RFID


2.1 เทคโนโลยีบาร์โค้ด

บาร์โค้ดคือการแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน แถบที่มีสีและความกว้างที่แตกต่างกันนี้จะมีค่าเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันและมาตรฐานสากลได้กำหนดค่าไว้

เทคโนโลยีบาร์โค้ดถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล (Data Entry) การบันทึกด้วยคีย์บอร์ดมีอัตราความผิดพลาดอยู่ประมาณ 1 ใน 100 หรือบันทึกข้อมูลผิดพลาด 1 ตัวอักษรในทุกๆ 100 ตัวอักษร และเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบบาร์โค้ด แทนในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล อัตราการเกิดความผิดพลาดจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10,000,000 ตัวอักษร


2.1.1 ส่วนประกอบของบาร์โค้ด


สัญลักษณ์ของบาร์โค้ดที่ใช้กันมีการกำหนดขึ้นมาหลายรูปแบบตามมาตรฐานของแต่ละองค์กร และตามจุดประสงค์ของการใช้งานแต่โดยทั่วๆไปแล้วบาร์โค้ดจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้


1. Quiet Zone เป็นบริเวณที่ว่างเปล่าไม่มีการพิมพ์ข้อความใดๆโดยจะอยู่ก่อนและหลังบาร์โค้ด

2. Start/ Stop Character เป็นบริเวณแถบแท่งหรือช่องว่าง

3. Data เป็นบริเวณแถบแท่งหรือช่องว่างที่แทนข้อมูลต่างๆที่เราต้องการ

4. Check Digit เป็นบริเวณแถบแท่งที่ไว้สำหรับเก็บค่าตัวเลข เพื่อตรวจสอบในข้อมูลส่วน Data เพื่อเตรียมสั่งให้เซนเซอร์เริ่มต้นหรือหยุดบาร์โค้ดเพื่อให้มั่นใจว่าถูกต้องแม่นยำ


2.1.2 หลักการทำงาน


1. ส่วนลายเส้น ซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งแสง) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตาม มาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด

2. ส่วนข้อมูลตัวอักษร เป็นส่วนที่แสดงความหมายของชุดข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจ






3. ส่วนแถบว่าง เป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มข้นการสะท้อนแสงในสีของพื้นผิวแต่ละชนิดที่ใช้แทนสีขาว) โดยทุกเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา

แถบสีทั้งสีขาวและสีดำที่มีความกว้างจะแทนค่าเป็น 1 และแถบสีที่มีความแคบ (หรือมองด้วยตาเหมือนเป็นเส้นตรงเล็กๆ) ทั้งขาวและดำจะมีค่าเป็น 0 แถบขาวและดำที่มีลักษณะและชื่อที่ใช้คือ


  • แถบสีดำที่มีความกว้างมากกว่าเรียกว่า Wide Bar ถ้ามีความกว้างน้อยเรียกว่าNarrow Bar

  • ช่องว่างหรือแถบสีขาวที่มีความกว้างมากกว่าเรียกว่า Wide Space ถ้ามีความกว้างน้อยเรียกว่า Narrow Space

 

รูปที่ 2.1 : โครงสร้างพื้นฐานของบาร์โค้ด


2.1.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด


เครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

1. Moving Bean Scanner


เครื่องอ่านอยู่กับที่ แต่แสงฉายกวาดไปที่สินค้าเพื่อหาบาร์โค้ดที่กำกับบนสินค้านั้น

2. Fixed Bean Scanner

เครื่องอ่านอยู่กับที่ลำแสงไม่เคลื่อนที่สินค้าเคลื่อนที่ผ่านจุดที่แสงฉาย

3. Hand Held Scanner

เครื่องอ่านที่ต้องใช้คนควบคุมและถือได้ เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดของสินค้าที่มี



ขนาดใหญ่เคลื่อนที่ยาก เช่น ม้วนกระดาษใหญ่ที่ผลิตจากโรงงาน

4. Wand Scanner

เครื่องอ่านที่ให้แสงสีแดงอินฟราเรดในการอ่านต้องใช้เครื่องอ่านสัมผัสกับแถบ

บาร์โค้ด

5. Hand Held Laser Scanner

เครื่องอ่านที่มีหลักการทำงานแบบ Moving Bean Scanner ที่ให้แสงเลเซอร์

 

รูปที่ 2.2 : ตัวอย่างบาร์โค้ดและเครื่องยิงเลเซอร์


2.1.4 ข้อสังเกตในการพิมพ์บาร์โค้ด

การพิมพ์บาร์โค้ดบนฉลากสติ๊กเกอร์หรือป้ายแขวนบนตัวสินค้าเป็นงานที่ยากถ้าต้องการงานพิมพ์คุณภาพสูง ต้องประกอบด้วยหลายดังนี้

1. ความคมชัดของเส้นแต่ละเส้น ถ้าเส้นไม่คม ขาดหายแหว่งบาร์โค้ดนั้นจะอ่านไม่ออก

2. สีที่เลือกใช้ โดยทั่วไปดีที่สุด คือ พิมพ์ตัวบาร์โค้ดสีดำบนพื้นสีขาว ซึ่งจะทำให้อ่านง่ายเนื่องจากเครื่องอ่านอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเส้นทึบและพื้นสว่าง ถ้าใช้คู่สีผิดอาจทำให้อ่านไม่ออก ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสะท้อนแสงในการพิมพ์แท่งรหัสสินค้าและพื้นที่ว่างหลังแท่งรหัสเพราะสีสะท้อนแสงจะสะท้อนแสงใส่เครื่องอ่านทำให้อ่านยากหรืออ่านไม่ได้เลยโดยเฉพาะสีนํ้าตาลเข้มถือว่าเป็นสีมืดจึงใช้เป็นสีมืดของแท่งบาร์ได้แต่สีนํ้าตาลมีส่วนผสมของสีแดงด้วยต้องระมัดระวังไม่ให้สีแดงมากเกินไปอาจทำให้เครื่องสแกนเนอร์ไม่สามารถอ่านได้


3. ขนาดของบาร์โค้ดบาร์โค้ดทุกระบบจะมีขนาดมาตรฐานเรียกว่า 100% สามารถย่อลงมาใช้ในขนาดตํ่าสุด 80% คือย่อลง 20% ถ้าตํ่ากว่านั้นอาจอ่านไม่ออกไม่แนะนำให้ทำส่วนขยายขนาดถ้าขยายก็ไม่ควรเกิน 200% ความสูงของเส้นบาร์ไม่ควรตํ่ากว่า 1.5



ซ.ม. ถ้าต้องการใช้ฟิล์มบาร์โค้ดขนาดไหนต้องระบุตอนสั่ง ไม่ควรนำฟิล์มไปย่อหรือขยายอีก

4. พื้นที่ด้านข้าง 2 ข้างของตัวบาร์โค้ด ซึ่งเรียกว่า Quiet Zone ต้องมีเนื้อที่ 10 เท่าของ แท่งรหัสที่เล็กที่สุดหรือมากกว่า 3.6 ตารางมิลลิเมตร

5. ระบบการพิมพ์ควรพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต ซึ่งจะให้คุณภาพงานพิมพ์ออกมาดีที่สุด

6. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัสดุโปร่งใส แสงจากเครื่องอ่านจะมองผ่านทะลุวัสดุโปร่งใสทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน

7. ผลิตภัณฑ์ที่มีหีบห่อเป็นผ้าไม่สามารถพิมพ์บาร์โค้ดได้ เนื่องจากเส้นใยที่ได้รับการทอจะเป็นปัญหาในการอ่าน วิธีที่ดีที่สุดคือ พิมพ์บาร์โค้ดลงบนป้ายสินค้า

 

รูปที่ 2.3 : บัตรสมาชิกติดบาร์โค้ด


2.2 เทคโนโลยี RFID

RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด (บาร์โค้ด) โดยจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้หลายๆ แท็กแบบไร้สัมผัสและสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้นแรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ในแท็กในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆนอกเหนือจากนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เช่น ใช้ในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรสำหรับใช้ผ่านเข้าออกสถานที่ต่างๆบัตรที่จอดรถ ตามศูนย์การค้าต่างๆ ที่เราอาจพบเห็นอยู่ในรูปของแท็กสินค้า มีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษได้ หรือเป็นแคปซูลขนาดเล็กฝังเอาไว้ในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติต่างๆ เป็นต้น




2.2.1 ส่วนประกอบของระบบ RFID

ในระบบ RFID จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือทรานสปอนเดอร์หรือแท็ก (Transponder/Tag) ที่ใช้ติดกับวัตถุต่างๆ ที่เราต้องการ โดยแท็กที่ว่าจะบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ เอาไว้ ส่วนที่สองก็คือเครื่องสำหรับอ่าน/เขียนข้อมูลภายในแท็ก (Interrogator/Reader) ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับระบบบาร์โค้ดนั้น แท็กในระบบ RFID ก็คือ ตัวบาร์โค้ดที่ติดกันฉลากของสินค้า และเครื่องอ่านในระบบ RFID ก็คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Scanner) โดยข้อแตกต่างของทั้งสองระบบคือ ระบบ RFID จะใช้คลื่นความถี่วิทยุในการอ่าน/เขียน ส่วนระบบรหัสแท่งจะใช้แสงเลเซอร์ ในการอ่าน โดยข้อเสียของระบบบาร์โค้ด คือหลักการอ่านเป็นการใช้แสงในการอ่านแท็กบาร์โค้ด ซึ่งจะต้องอ่านแท็กที่ไม่อะไรกับปกปิดหรือ ต้องอยู่ในเส้นตรงเดียวกับลำแสงที่ยิงจากเครื่องสแกน และอ่านได้ทีละแท็กในระยะใกล้ๆแต่ระบบ RFID จะแตกต่างโดยสามารถอ่านแท็กได้ โดยไม่ต้องเห็นแท็ก หรือแท็กนั้นซ้อนอยู่ภายในวัตถุและไม่จำเป็นต้องอยู่ในเส้นตรงกับคลื่น เพียงอยู่ในบริเวณที่สามารถรับคลื่นวิทยุได้ก็สามารถอ่านข้อมูล ได้ และการอ่านแท็กในระบบ RFID ยังสามารถอ่านได้หลายๆ แท็กในเวลาเดียวกัน โดยระยะในการอ่านข้อมูลได้ไกลกว่าระบบบาร์โค้ดอีกด้วย

2.2.1.1 Tag หรือ Transponder

โครงสร้างภายในของแท็กจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ขดลวดขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงาน ป้อนให้ส่วนของไมโครชิป(Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุเช่นรหัสสินค้า โดยทั่วไปตัวแท็กอาจอยู่ในชนิดทั้งเป็นกระดาษแผ่นฟิล์ม พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำเอาไปติด และมีหลายรูปแบบ เช่น ขนาดเท่าบัตรเครดิต เหรียญ กระดุม ฉลากสินค้า แคปซูล เป็นต้น แต่โดยหลักการอาจแบ่งแท็กที่มีการใช้งานกันอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ แต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งานราคาโครงสร้างและหลักการทำงานอยู่ ซึ่งจะขอกล่าวถึงและอธิบายแยกเป็นหัวข้อดังนี้











 

รูปที่ 2.4 : แสดง RFID แท็กในรูปแบบต่างๆ

Passive RFID Tags

แท็กชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใดๆ เพราะภายในแท็กจะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่ทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ไม่ไกลมากนักระยะอ่านสูงสุดประมาณ 1 เมตร ขึ้นอยู่กับความแรงของเครื่องส่งและคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ ปกติแท็กชนิดนี้มักมีหน่วยความจำขนาดเล็กโดยทั่วไปประมาณ 16 ถึง 1,024 ไบต์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ำไอซีของแท็กชนิดพาสซีฟที่มีการผลิตออกมา จะมีทั้งขนาดและรูปร่างเป็นแท่งหรือแผ่นขนาดเล็กจนแทบไม่สามารถมองเห็นได้ไปจนถึงขนาดใหญ่สะดุดตา ซึ่งต่างก็มีความเหมาะสมกับชนิดงานที่แตกต่างกัน ส่วนโครงสร้างภายในที่เป็นไอซีของแท็กนั้น ก็จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนควบคุมการทำงานของภาครับ-ส่งสัญญาณวิทยุ (Analog Front-End) ส่วนควบคุมภาคลอจิก (Digital Control Unit) ส่วนของหน่วยความจำ (Memory) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ROM หรือ EEPROM

 

รูปที่ 2.5 : แสดงบล็อกไดอะแกรมของ Passive Tag

Active RFID Tags

แท็กชนิดนี้จะต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอก เพื่อจ่ายพลังงานให้กับวงจรภายในทำงาน แท็กชนิดนี้มีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมกะไบต์ และสามารถอ่านได้ในระยะไกลสูงสุดประมาณ 10 เมตร แม้ว่าแท็กจะมีข้อดีอยู่หลายข้อแต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน เช่น




มีราคาต่อหน่วยแพง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีระยะเวลาในการทำงานที่จำกัด นอกจากการแบ่งจากชนิดที่ว่ามาแล้วแท็กก็ยังถูกแบ่งประเภทจากรูปแบบในการใช้งานได้เป็น 3 แบบ คือ แบบที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-Write),แบบเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ (Write-Once Read-Many หรือ WORM) และแบบอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-Only) ด้วย อย่างไรก็ตามแท็กชนิดพาสซีฟ จะนิยมใช้มากกว่า ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะแท็กซ์ชนิดนี้เป็นหลัก

 

รูปที่ 2.6 :ตัวอย่าง Active Tag ที่มีแบตเตอรี่Lithium 2 ก้อนอยู่ภายนอก


2.2.1.2 เครื่องอ่าน (Reader)

โดยหน้าที่ของเครื่องอ่านก็คือ การเชื่อมต่อเพื่อเขียนหรืออ่านข้อมูลลงในแท็กด้วยสัญญาณความถี่วิทยุภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศที่ทำจากขดลวดทองแดง เพื่อใช้รับส่งสัญญาณภาครับและภาคส่งสัญญาณวิทยุและวงจรควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล จำพวกไมโครคอนโทรลเลอร์และส่วนของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปเครื่องอ่านจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักดังนี้

  • ภาครับและส่งสัญญาณวิทยุ
  • ภาคสร้างสัญญาณพาหะ
  • ขดลวดที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ
  • วงจรจูนสัญญาณ
  • หน่วยประมวลผลข้อมูล และภาคติดต่อกับคอมพิวเตอร์

หน่วยประมวลข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องอ่านมักใช้เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งอัลกอริทึมที่อยู่ภายในโปรแกรมจะทำหน้าที่ถอดรหัสข้อมูล (Decoding) ที่ได้รับและทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะขนาดและรูปร่างของเครื่องอ่านจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน เช่น แบบมือถือขนาดเล็กหรือติดผนัง จนไปถึงขนาดใหญ่เท่าประตู (Gate size) เป็นต้น



 

รูปที่ 2.7 : แสดงโครงสร้างภายในเครื่องอ่าน

 

รูปที่ 2.8 : แสดงรูปตัวอย่างเครื่องอ่านแบบต่างๆ

2.2.2 ลักษณะการทำงานของระบบ RFID

หัวใจของเทคโนโลยี RFID ได้แก่ "Inlay" ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตามหรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้น ๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเป็นการผลิตเครื่องหมายหรือฉลาก จากวัสดุที่มีราคาไม่แพงมากนัก ซึ่งจะเห็นว่า Inlay มีลักษณะรูปร่างที่บางมาก จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของชิ้นงานหรือวัตถุนั้น ๆ ได้สะดวก

RFID เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็ก (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูล ดังแผนผังการทำงานของระบบ RFID







 

รูปที่ 2.9 :แสดงภาพรวมของระบบ RFID

รองรับความต้องการอีกหลายอย่างที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ เนื่องจากบาร์โค้ดจะเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว (Read only) ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค้ดได้ แต่แท็กของระบบ RFID จะสามารถทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลได้ ดังนั้นเราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำการบันทึกข้อมูลที่อยู่ในแท็กได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ระบบ RFID ยังสามารถใช้งานได้แม้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่นในขณะสินค้ากำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต (Conveyor) หรือในบางประเทศก็มีการใช้ระบบ RFID ในการเก็บค่าผ่านทางด่วนโดยที่ผู้ใช้บริการทางด่วนไม่ต้องหยุดรถเพื่อจ่ายค่าบริการ ผู้ใช้บริการทางด่วนจะมีแท็กติดอยู่กับรถ และแท็กจะทำการสื่อสารกับตัวอ่านข้อมูล ผ่านสายอากาศขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ตรงบริเวณทางขึ้นทางด่วน ในขณะที่รถแล่นผ่านสายอากาศ ตัวอ่านข้อมูลก็จะคิดค่าบริการและบันทึกจำนวนเงินที่เหลือลงในแท็กโดยอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งการใช้งานในปศุสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ หรือระบุความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวที่อยู่ในฟาร์ม

ข้อดีของระบบ RFID อีกอย่างก็คือ แท็กและตัวอ่านข้อมูลสามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ, พลาสติก, กระจก หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆในขณะที่บาร์โค้ดทำไม่ได้

2.2.3 หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบ RFID

1. ตัวอ่านข้อมูลจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามีแท็กเข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการคอยตรวจจับว่ามีการมอดูเลตสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่

2. เมื่อมีแท็กเข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แท็กจะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้แท็กเริ่มทำงาน และจะส่งข้อมูลใน







หน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลตกับคลื่นพาหะแล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายในแท็ก

3. คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจากแท็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ หรือเฟส ขึ้นอยู่กับวิธีการมอดูเลต

4. ตัวอ่านข้อมูลจะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะแปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้วทำการถอดรหัสเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป

2.2.4 คลื่นพาหะและมาตรฐานของระบบ RFID

ในปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มระหว่างแต่ละประเทศ เพื่อทำการกำหนดมาตรฐานความถี่คลื่นพาหะของระบบ RFID โดยมีสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มประเทศในยุโรปและอาฟริกา (Region 1), กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (Region 2) และสุดท้ายคือกลุ่มประเทศตะวันออกไกลและออสเตรเลีย (Region 3) ซึ่งแต่ละกลุ่มประเทศจะกำหนดแนวทางในการเลือกใช้ความถี่ต่างๆให้แก่บรรดาประเทศสมาชิก

อย่างไรก็ตาม ความถี่ของคลื่นพาหะที่นิยมใช้งานในย่านความถี่ต่ำ ย่านความถี่ปานกลาง และย่านความถี่สูงก็คือ 125 kHz, 13.56 MHz และ 2.45 GHz ตามลำดับดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 1 นอกจากนี้รัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยทั่วไปจะมีการออกกฏหมายเกี่ยวกับระเบียบการใช้งานย่านความถี่ต่างๆ รวมถึงกำลังส่งของระบบ RFID ด้วย















 

ตารางที่ 2.1 ย่านความถี่ต่างๆ ของระบบ RFID และการใช้งาน

ในแง่ของราคาและความเร็วในการสื่อสารข้อมูล เมื่อเทียบกันแล้ว RFID ซึ่งใช้คลื่นพาหะย่านความถี่สูงเป็นระบบที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดและมีราคาแพงที่สุดด้วยเช่นกัน ส่วน RFID ที่ใช้คลื่นพาหะย่านความถี่ต่ำก็จะมีการส่งข้อมูลต่ำและราคาก็จะต่ำลดหลั่นตามลงไปด้วย

2.2.5 เปรียบเทียบ เทคโนโลยี บาร์โค้ด และ RFID

ในการใช้งานระบบ บาร์โค้ด จะมีข้อดีในเรื่องของต้นทุนที่ถูกกว่าในระบบ RFID โดยผู้พัฒนาระบบ บาร์โค้ด พัฒนาได้ง่ายกว่าระบบ RFID ซึ่งทำให้ RFID ที่ราคายังแพงต่อการนำมาใช้ในระบบคลังสินค้าในบางกรณีที่สินค้าราคาถูกจะไม่คุ้มกับราคาแท็กที่นำมาใส่ในสินค้าจึงยังมีการใช้งานระบบ RFID กันอย่างจำกัด แต่ในอนาคตเมื่อราคาของแท็กถูกลง ระบบ RFID จะมาแทนระบบบาร์โค้ดได้อย่างง่ายดายเนื่องจากระบบ RFID เพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นอย่างมาก

ปัญหาที่สำคัญของบาร์โค้ดคือตัวอ่านข้อมูลสามารถอ่านได้ระยะไม่เกิน 1 เมตรหรือตัวอ่านบางชนิดต้องให้ตัวอ่านข้อมูลติดกับบาร์โค้ดจึงสามารถอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ดได้โดยปัญหาส่วนนี้จะทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดการกับสินค้าหรืออุปกรณ์ที่ต้องอ่านจากตัวอ่านบาร์โค้ดและในกรณีที่แถบสีของบาร์โค้ดลบเลือนจะทำให้การอ่านข้อมูลยากขึ้นหรืออ่านข้อมูลไม่ได้



ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ระบบ RFID ตัวอ่านของระบบ RFID สามารถอ่านได้ไกลประมาณ 6 เมตร หรือในตัวอ่านและแท็กที่ราคาสูงขี้นสามารถอ่านได้ระยะที่ไกลขึ้นและข้อมูลที่ใช้ในการเก็บที่เพิ่มขึ้นและที่สำคัญเป็นการลดเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้าโดยไม่จำเป็นที่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ออกจากคลังสินค้าตารางที่จะเป็นการเปรียบเทียบระบบบาร์โค้ด และระบบ RFID ในแต่ละชนิดของแท็ก























บทที่ 3

การออกแบบระบบการจัดการคลังสินค้า

การออกแบบโครงสร้างระบบจัดการคลังสินค้า พัฒนาระบบการออกแบบคลังสินค้า เพื่อช่วยในการออกแบบแอพพลิเคชั่นให้สามารถรองรับการทำงานของระบบคลังสินค้าได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงโครงสร้างระบบคลังสินค้า ขอบเขตของระบบคลังสินค้า และการจัดการคลังสินค้า รวมไปถึงการออกแบบระบบคลังสินค้าให้ง่ายต่อการเข้าใจโดยใช้หลักการ UML และออกแบบระบบฐานข้อมูลโดยใช้หลักการ ER-Diagram

3.1 การจัดการสินค้าในคลังสินค้า

ในการนำสินค้าเข้ามาเก็บในคลังสินค้านั้นผู้จัดเก็บสินค้าจะนำสินค้าไปจัดเก็บในตำแหน่งที่ระบุไว้ โดยจะมีการตรวจสอบจากชนิดของสินค้าเพื่อหาตำแหน่งที่ยังว่างอยู่ในคลังของสินค้าชนิดนั้น โดยทำการอ่านข้อมูลจากแท๊กซ์ของ RFID แล้วทำการเพิ่มข้อมูลในส่วนตำแหน่งที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้า ลงในแท๊กซ์ของ RFID ในการจัดเก็บสินค้านั้นจะแบ่งการจัดการสินค้าออกเป็นสองส่วนคือ ระยะเวลาที่สินค้าชิ้นนั้นจะถูกเคลื่อนย้าย และน้ำหนักสุทธิของสินค้าประเภทนั้น กล่าวคือ สินค้าที่จะถูกเคลื่อนย้ายก่อนจะถูกจัดเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่สามารถหยิบได้ง่ายที่สุด โดยทำการกำหนดเป็นระดับต่างๆ ตามความเหมาะสมของสินค้า เช่น ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ทางออกคลังสินค้า ย่อมเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมกับสินค้าที่ถูกส่งออกบ่อย และในส่วนของสินค้าที่ยังเหลือเวลาเคลื่อนย้ายอีกนานจะถูกเก็บไว้ไนส่วนตำแหน่งที่ไกลกว่าทางออกคลังสินค้า เพื่อให้สินค้าในคลังที่เกิดการส่งออกบ่อย สามารถจัดการได้รวดเร็ว และน้ำหนักของสินค้าแต่ละประเภท เช่น สินค้าสองประเภทมีการส่งออกของสินค้าใกล้เคียงกัน แต่สินค้าหนึ่งหนักกว่าสินค้าหนึ่ง การนำน้ำหนักสินค้ามาเป็นเกณฑ์จะทำให้การจัดการสินค้าเพื่อทำการเคลื่อนย้ายสินค้าสามารถจัดการได้ง่ายกว่าและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดการสินค้า โดยรูปที่ 3.1 จะแสดงถึงตัวอย่างการออกแบบคลังสินค้า โดยทำการกำหนดตำแหน่งของที่วางสินค้า โดยจะทำการแบ่งช่องเก็บสินค้าเป็น 3 ชั้น








 

 

 

 

รูปที่ 3.1 : แสดงตำแหน่งการจัดวางสินค้า

จากรูปที่ 3.1 เป็นการแสดงตำแหน่งการจัดวางสินค้าโดยจัดเรียงตามความสะดวกในการในการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยตำแหน่งของที่วางสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ตัวอักษร ซึ่งจะกำหนดให้ ตำแหน่งความง่าย-ยาก ในการจัดวางตำแหน่งสินค้าแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ


1. กำหนดตามคอลัมน์ โดยให้ตามความลึกจากช่องที่จะนำสินค้าออกมาโดยสินค้าใดถูกวางไว้ลึกกว่าจะกำหนดให้เป็น CXX สินค้าใดถูกวางไว้ใกล้กว่าจะกำหนดให้เป็น AXX โดยเรียงลำดับการขนย้ายจากง่ายไปยากเป็น A,B,C จากรูปที่1 จะเห็นว่าตำแหน่ง AE1 จะใกล้กว่าตำแหน่ง CE1


2. กำหนดตามแถว โดยให้ตำแหน่งที่ใกล้ทางออกเป็น XAX และ ตำแหน่งที่ใกล้ ทางเข้าเป็น XFX โดยเรียงลำดับการขนย้ายจากง่ายไปยากเป็น A,B,C,D,E,F ซึ่งจากรูปที่ 1 จะเห็นว่า ตำแหน่ง AB1 จะใกล้กว่าตำแหน่ง AE1


3. กำหนดตามชั้นวางสินค้า โดยให้ตำแหน่งชั้นวางสินค้าโดยชั้นล่างสุดคือ XX1 จะขนย้ายสินค้าได้ง่ายกว่าตำแหน่ง XX3 โดยเรียงลำดับการขนย้ายจากง่ายไปยากเป็น 1,2,3 ซึ่งจากรูปที่ 1 จะเห็นว่าตำแหน่ง AB1 จะใกล้กว่าตำแหน่ง AB3


ในส่วนของการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าหลัก เมื่อมีการเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าหลักผ่านตัวอ่าน RFID จะทำการอ่านข้อมูลจากแท๊กซ์เพื่อนำรหัสของสินค้าที่ได้ไปทำการตรวจสอบกับฐานข้อมูล ส่วนของแอพพลิเคชั่นจะทำการจัดการสินค้าที่ออกจากคลังสินค้าไปเก็บยังตารางส่งสินค้าออก ในการจัดการสินค้าในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น นำสินค้าชิ้นเดิมกลับเข้าคลังสินค้า จะกล่าวในหัวข้อ โครงสร้างของระบบคลังสินค้า และเมื่อมีการนำสินค้าจากคลังสินค้าหลักเข้าไปเก็บไว้อีกคลังสินค้าย่อย ระบบ RFID จะระบุว่ามีการนำสินค้าเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าและจะเพิ่มข้อมูลของสินค้านั้นเข้ามาไว้ในฐานข้อมูลสินค้าของคลังสินค้าย่อยนั้น จากกระบวนการนี้จะทำให้เราสามารถระบุคลังสินค้าได้เมื่อต้องการจะนำสินค้าส่งออกซึ่งกระบวนการนี้ช่วยจะช่วยลดเวลาที่ใช้ไปจากการค้นหาสินค้า

3.2 โครงสร้างของระบบคลังสินค้า

ภาพรวมระบบโครงสร้างของคลังสินค้า ประกอบไปด้วย คลังสินค้าหลัก เป็นคลังที่ใช้ในการเก็บสินค้าทั้งหมดในคลังสินค้าเพื่อทำการส่งออกสินค้าแต่ละชิ้นไปยัง คลังสินค้าย่อย และมีที




พักสินค้าในกรณีที่ สินค้าถูกนำออกจากคลังสินค้าหลักและมีการจัดส่งสินค้าตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่คัดแยกสินค้าโดยดูจากข้อมูลของสินค้าที่ถูกสั่งมาจากคลังย่อยในฐานข้อมูล โดยคลังสินค้าย่อยจะมีทั้งหมด N คลัง คลังสินค้าย่อยจะเป็นส่วนของการขายสินค้าให้ผู้ซื้อ โดยในแต่ละวันจะมีการเก็บจำนวนการขายสินค้าออกเพื่อมารายงานให้กับฝ่ายตรวสอบสินค้าในการตัดสินใจ และหากสินค้าในคลังสินค้าย่อยมีจำนวนที่น้อยเกินกว่า Minimum ที่กำหนดไว้ ระบบจะทำการสั่งหรือจองสินค้าในคลังสินค้าหลัก และระบบจะเตือนไปยังฝ่ายตรวจสอบสินค้าทันทีเพื่อทำการสั่งสินค้าเพิ่ม โดยอาจรวมกับข้อมูลคลังสินค้าที่นำมาประมวลผลเป็นสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการสั่งหรือจองจำนวนสินค้าที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เช่น วัดจากการขายหรือส่งออกสินค้าตามไตรมาสต่างๆ เป็นต้น รูปที่ 3.2 แสดงถึงระบบโครงสร้างของคลังสินค้า โดยแสดงคลังสินค้าหลัก และ คลังสินค้าย่อย N คลัง

 

รูปที่ 3.2: แสดงถึงโครงสร้างระบบคลังสินค้า




3.2.1 คลังสินค้าหลัก

สินค้าที่นำเข้าคลังสินค้า

1. สินค้าแต่ละชิ้นจะมีแท๊กซ์ติดอยู่โดยจะเก็บข้อมูลรหัสและชื่อของสินค้า สถานที่ผลิต รายละเอียดสินค้า และอื่นๆ โดยรหัสของสินค้าจะถูกจองก่อนที่สินค้าจะนำเข้าคลัง โดยจองจากสินค้าที่สั่งจากคลังย่อย หรือสินค้าที่คลังสินค้าหลักทำการสั่งเพิ่ม โดยจะเพิ่มข้อมูลเพื่อบ่งชี้ถึงสถานะของสินค้าว่ามีอยู่ในคลังหรือไม่ ในแต่ละประเภทสินค้าจะมีช่วงของสินค้าที่ทำการจองเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบคลังสินค้า

2. แอพพลิเคชั่นจะประมวลผลเพื่อจัดการหาตำแหน่งในการจัดวางสินค้าโดยวัดการวางตำแหน่งสินค้าจากสินค้าที่ถูกส่งออกบ่อยครั้งกว่า หรือในกรณีที่สินค้าถูกส่งออกใกล้เคียงกันแต่สินค้าชิ้นหนึ่งอาจมีน้ำหนักมากกว่า เราจะทำการวางสินค้าที่น้ำหนักมากกว่าในตำแหน่งที่สามารถขนย้ายได้ง่ายกว่าเพื่อความสะดวกในการขนย้ายสินค้า

3. เพิ่มข้อมูลของสินค้าเข้าไปในฐานข้อมูลของคลังสินค้าหลัก โดยเก็บข้อมูลต่างๆที่จำเป็น เช่น รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ตำแหน่งที่วางของสินค้า สินค้าแต่ละชิ้นจะถูกขนย้ายไปยังคลังใด เวลาไหนที่จะทำการขนย้าย เป็นต้น

การจัดส่งสินค้า

1. รับข้อมูลการสั่งสินค้าของคลังสินค้าย่อยและทำการจองสินค้าที่มีอยู่ทันที โดยในกรณีที่สินค้าในคลังสินค้าหลักหมดก็จะทำการสั่งสินค้าเพิ่มจากโรงงาน

2. เมื่อสินค้าผ่านตัวอ่าน RFID บริเวณทางออกของคลังสินค้า แท๊กซ์จะถูกอ่านข้อมูลของสินค้านั้นและทำการตรวจสอบเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังตารางที่เก็บข้อมูลสินค้าที่ถูกส่งออกจากคลังสินค้า และในกรณีสินค้าที่ถูกส่งออกจากคลังเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น มีการนำสินค้าที่ถูกส่งข้อมูลออกไปแล้วกลับมายังคลังสินค้าใหม่ระบบ RFID จะทำการอ่านข้อมูลจากแท๊กซ์และตรวจสอบว่าสินค้านั้นมีช่วงของรหัสสินค้า อยู่ในช่วงของสินค้าที่ถูกจองหรือไม่ หากใช่จะทำการเก็บสินค้านั้น แต่ถ้าสินค้านั้นไม่อยู่ในช่วงรหัสสินค้า จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูล

3. มีส่วนของการจำแนกสินค้าเพื่อจัดส่งไปยังคลังสินค้าย่อยโดยระบุสถานที่ของคลังสินค้าย่อยที่ทำการจัดส่ง

4. รับรายการจัดส่งสินค้าออกจากคลังสินค้าย่อยเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของสินค้าที่ได้จำหน่าย


 





3.2.2 คลังสินค้าย่อย

สินค้าที่นำเข้าจากคลังสินค้าหลัก

1. สินค้าที่สั่งเข้ามาแต่ละชิ้นจะมีแท๊กส์ติดอยู่โดยจะเก็บข้อมูลรหัสและชื่อของสินค้า สถานที่ผลิต รายละเอียดสินค้า และอื่นๆ

การจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า

1. สินค้าที่นำเข้ามาในคลังสินค้าจะต้องผ่านการอ่านข้อมูลในแท๊กซ์โดยตัว Reader บริเวณประตูทางเข้าจะต้องสามารถอ่านข้อมูลของสินค้าได้จำนวนมากๆ

2. ข้อมูลที่ตัวอ่าน RFID อ่านได้จะถูกส่งไปยังแอพพลิเคชั่น

3. แอพพลิเคชั่นจะเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลและจะประมวลผลหาตำแหน่งที่จัดวางสินค้าโดยสินค้าซึ่งถูกสั่งซื้อบ่อยครั้งกว่า หรือสินค้าที่ส่งออกใกล้เคียงกันแต่มีน้ำหนักที่ต่างกัน โดยสินค้าที่ส่งออกบ่อย และมีน้ำหนักมากกว่า จะถูกวางไว้ในตำแหน่งที่สามารถขนย้ายได้ง่ายกว่าเพื่อความสะดวกในการขนย้ายสินค้า

การจัดส่งสินค้าออกจากคลังสินค้าย่อย

1. เมื่อนำสินค้าผ่านตัวอ่าน RFID แล้ว ข้อมูลของสินค้านั้นถูกเก็บไว้ในส่วนฐานข้อมูลของสินค้าที่ถูกจัดส่งออก

2. สินค้าที่ถูกขายออกไปจากคลังสินค้าย่อยจะทำการเก็บข้อมูลที่ขายสินค้าออกไปในแต่ละวัน เพื่อมารายงานให้กับฝ่ายตรวสอบสินค้าในการตัดสินใจ และหากสินค้าในคลังสินค้าย่อยมีจำนวนที่น้อยเกินกว่า Minimum ที่กำหนดไว้ ระบบจะทำการสั่งหรือจองสินค้าในคลังสินค้าหลัก และระบบจะเตือนไปยังฝ่ายตรวจสอบสินค้าทันทีเพื่อทำการสั่งสินค้าเพิ่ม โดยอาจรวมกับข้อมูลคลังสินค้าที่นำมาประมวลผลเป็นสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการสั่งหรือจองจำนวนสินค้าที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เช่น วัดจากการขายหรือส่งออกสินค้าตามไตรมาสต่างๆ

3.3 รายละเอียดโปรแกรมที่จะพัฒนา

จากการออกแบบระบบคลังสินค้า โปรแกรมที่จะพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน

1. การดึงข้อมูลจากตัวอ่าน RFID ที่อ่านข้อมูลจากแท๊กซ์เพื่อแสดงไว้บนแอพพลิเคชั่น บนคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลที่ได้ไปเรียกข้อมูลของสินค้าทั้งหมดจากฐานข้อมูลเพื่อ








นำข้อมูลทั้งหมดมาแสดงผล และสามารถทำการอัพโหลดข้อมูลจากข้อมูลที่เพิ่มในแอพพลิเคชั่นอัพโหลดลงตัว แท๊กซ์ได้

2. เขียนส่วนโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อฐานข้อมูล กำหนดสิทธิในการเข้าถึงฐานข้อมูล และแอพลิเคชั่น GUI ของคลังสินค้าหลัก และคลังสินค้าย่อย เช่น แสดงตารางเวลาที่สินค้าประเภทใด จะถูกจัดส่ง คลังย่อยแต่ละคลังมีตารางเวลาในการส่งสินค้าที่ต่างกัน หรือแสดงข้อมูลของสินค้าที่ถูกขายออกจากคลังสินค้า โดยแสดงเป็น วัน เดือน ไตรมาส เป็นต้น

3. ในการสั่งซื้อสินค้าของคลังย่อยไปยังคลังสินค้าหลัก เมื่อคลังสินค้าย่อยมีการขายสินค้า สินค้าที่ขาดจะถูกส่งจำนวนสินค้าไปยังคลังสินค้าหลัก เพื่อทำการจองสินค้าที่มีอยู่ในคลังหลักหรือสั่งสินค้าเพิ่มในกรณีที่สินค้าหมดในคลังหลัก

4. เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในคลัง จะมีการกำหนดตำแหน่งสินค้าที่นำเข้ามาโดยอัตโนมัติในแต่ละคลังสินค้า

5. พัฒนาแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบคลังสินค้า เช่น มีการคำนวณหาสินค้าที่ขายได้ดีในช่วงเวลาใด เป็นต้น

3.4 UML(Unified Modeling Language)

UML เป็นภาษารูปภาพที่ช่วยแสดงโครงสร้างของระบบได้เป็นอย่างดี โดยแผนภาพนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ออกแบบระบบและโปรแกรมเมอร์ทำให้การปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น

3.4.1 การจำลองแบบเชิงวัตถุด้วย UML

UML ประกอบด้วยแผนผังต่างๆ ซึ่งใช้สัญลักษณ์โดยทั่วไปและเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการแบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ง่ายต่อการสร้าง การอ่าน และการใช้ประโยชน์จากแผนผังของ UML โดยจะใช้ UML เพื่ออธิบาย ยูสเคส ยูสเคสไดอาแกรม คลาสไดอาแกรม ซีคเว็นซ์ไดอาแกรม สเตททรานสิชั่นไดอาแกรม และ แอคทิวิตี้ไดอาแกรม

3.4.2 การออกแบบ Use Case Diagram

Use Case Diagrams เป็นการสรุปให้เห็นถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ของยูสเคสต่างๆ ที่อยู่ภายในระบบ เช่น แผนกบริการลูกค้าของอู่ซ่อมรถยนต์ ซึ่งในระบบของการทำงานจะเกี่ยวข้องกับลูกค้า พนักงาน

ให้บริการผู้มีหน้าที่เขียนคำสั่งรายการซ่อมและใบเรียกเก็บเงิน และช่างผู้ทำหน้าที่ซ่อมรถยนต์

ยูสเคสเป็นตัวแทนของขั้นตอนต่างๆ ในการทำหน้าที่ทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการประมวลผลธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง โดยจะเรียก เอนทิตีภายนอก ว่า ผู้แสดง (Actor) เอนทิตีนี้ เริ่มต้นใช้ยูสเคส โดยการร้องขอให้ระบบแสดงหน้าที่หรือให้ประมวลผล



การนำ Use Case Diagram มาช่วยในการออกแบบระบบ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลของความต้องการต่างๆ ของยูสเซอร์ เพื่อกำหนดรายละเอียดการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาตามความต้องการของผู้ใช้ และรับรู้ถึงโครงสร้างของระบบการทำงานในองค์กร เพื่อออกแบบการทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ

รายละเอียดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสร้าง Use Case Diagram แสดงได้ดังนี้


Actor คือ บุคคล หน่วยงาน ระบบงานที่อยู่ภายนอก


Use Case คือ งานต่างๆ หรือ ฟังก์ชั่นที่เกิดขึ้นในระบบ



System Boundary คือขอบเขตของระบบใดๆ จะรวมการทำงานต่างๆในระบบนั้นๆ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ที่มีในระบบ



เป็นลูกศรที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างยูสเคส

<<uses>> แสดงถึงยูสเคสหนึ่ง มีอยู่ในยูสเคส หนึ่งจึงจะทำให้เงื่อนไขสมบูรณ์( has-a )

<<extends>> แสดงถึงยูสเคสหนึ่งเป็นการสืบทอดมาอีกยูสเคสหนึ่ง( is-a )



ลูกศรแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Actor กับยูสเคส





ระบบการจัดการสินค้าในคลังสินค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

1. การจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลัก การจัดการสินค้า จะมีการแบ่งระบบงานย่อยในการจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลัก แบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

  • ระบบการจัดการสินค้าเข้าคลังสินค้าหลักผ่านระบบ RFID
  • ระบบจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลัก
  • ระบบการส่งออกสินค้าในคลังสินค้าหลักผ่านระบบ RFID
  • ระบบจัดส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าย่อย
  • ระบบรับรายการสินค้าจากคลังสินค้าย่อย
  • ระบบการเก็บข้อมูลสถิติ

2. การจัดการสินค้าในคลังสินค้าย่อย การจัดการสินค้า จะมีการแบ่งระบบงานย่อยในการจัดการสินค้าในคลังสินค้าย่อย แบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

  • ระบบการจัดการสินค้าเข้าคลังสินค้าย่อยผ่านระบบ RFID
  • ระบบจัดการสินค้าในคลังสินค้าย่อย
  • ระบบการส่งออกสินค้าในคลังสินค้าย่อยผ่านระบบ RFID
  • ระบบการสั่งเพิ่มสินค้า
  • ระบบการขายสินค้า

จากขั้นตอนที่กล่าวมาขั้นต้น เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างยูสเซอร์ และระบบการทำงาน ให้ง่ายต่อการเข้าใจ โดยการทำ Use Case Diagramจะแสดงถึงโครงสร้างระบบคลังสินค้าโดยแบ่งเป็น การจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลัก การจัดส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าย่อย การรับสินค้าของคลังสินค้าย่อย การจัดการคลังสินค้าย่อย และระบบอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการออกแบบโปรแกรมของระบบคลังสินค้า ตามความต้องการของยูสเซอร์ ขององค์กร โดยแสดงโครงสร้างของระบบการจัดการสินค้าในคลังสินค้าในรูปแบบ Use Case Diagram ของทั้งคลังสินค้าหลักและคลังสินค้าย่อย













รูปที่ 3.3: Use Case Diagram ของคลังสินค้าหลัก

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 3.4: Use Case Diagram ของคลังสินค้าย่อย

 

 

 

 

 

 

 

3.4.3 การออกแบบ Class Diagram

แผนภาพที่ใช้แสดงคลาสและความสัมพันธ์ในแง่ต่างๆ ถูกพัฒนามาจากยูสเคสแต่ละส่วน โดยการมองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในยูสเคส จะทำให้เกิดออปเจ็คที่กระทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างยูสเคสนั้น โดย Class Diagram จะเป็นความสัมพันธ์เชิงสถิตย์ ( Static Relationship ) โดยจะออกแบบเฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจนหรือวัตถุนั้นๆ จะแสดงถึงคลาส และการทำงานที่เกิดขึ้นของวัตถุจะแสดงถึงฟังก์ชันของวัตถุโดยการออกแบบ Class Diagram จะแบ่งสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคลาสแต่ละคลาส และข้อมูลในคลาสดังนี้


Block ที่ 1แสดงถึงคลาสใน Class Diagram

Block ที่ 2แสดงถึงคุณลักษณะของคลาส

Block ที่ 3 แสดงถึงการทำงานของคลาส

+ Access modify เป็น Public

# Access modify เป็น Protected

- Access modify เป็น Private


เป็นสัญลักษณ์แทน Generalization Abstraction


เป็นสัญลักษณ์แทน Aggregation Abstraction

โดยจะแสดงความสัมพันธ์ ในรูป

1,0..1,0..*,1..*,*


เป็นสัญลักษณ์แทน Association Abstraction

โดยจะแสดงความสัมพันธ์ ในรูป

1,0..1,0..*,1..*,*

การออกแบบ Class Diagram ของระบบคลังสินค้าสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 3.5

 

รูปที่ 3.5: Class Diagram ของคลังสินค้าหลัก

 

 

 

 

 

 

 

3.5 การออกแบบโดยใช้แผนภาพ ER Diagram

ในการออกแบบฐานข้อมูลของคลังสินค้านั้นจะใช้ ER Diagram ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐานอันหนึ่งที่เรียกว่า เอนทิตี (Entity) ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างเอกเทศโดยเอนทิตีแต่ละเอนทิตีจะมีคุณลักษณะเฉพาะของตัวมันเองนั่นคือแอตทริบิว (Attributes) ซึ่งเป็นตัวบอกถึงองค์ประกอบหรือพฤติกรรมเฉพาะของมัน

โครงการนี้แบ่ง ER Diagram ออกเป็น ER Diagram ของคลังสินค้าย่อยและของคลังสินค้าหลักดังนี้

 

รูปที่ 3.6: แสดง ER Diagram ของคลังสินค้าหลัก

 

 

 

รูปที่ 3.7 : แสดง ER Diagram ของคลังสินค้าย่อย

 

 


ER Diagram และสกีม่าฐานข้อมูลของคลังสินค้าย่อยและคลังสินค้าหลักสามารถอธิบายโดยตารางได้ดังนี้

 

 



 

จาก ER Diagram สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละเอนทิตีได้ดังนี้


1. เอนทิตีพนักงานมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีแผนกผ่านความสัมพันธ์ของการทำงานโดยเป็นความสัมพันธ์แบบ N:1 กล่าวคือพนักงานสามารถประจำอยู่ได้เพียงแผนกใดแผนกหนึ่งแต่แผนกหนึ่งสามารถมีพนักงานได้หลายคนและผ่านความสัมพันธ์ของหัวหน้าแผนกโดยเป็นความสัมพันธ์แบบ 1:1กล่าวคือพนักงานหนึ่งคนจะมีหัวหน้าได้คนเดียวและแต่ละแผนกจะมีหัวหน้าแค่คนเดียว


2. เอนทิตีพนักงานมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีสินค้าผ่านความสัมพันธ์ของผู้ดูแลสินค้าโดยเป็นความสัมพันธ์แบบ 1:N กล่าวคือพนักงานหนึ่งคนสามารถดูแลสินค้าได้หลายอย่างแต่สินค้าชิ้นหนึ่งจะต้องถูกดูแลโดยพนักงานเพียงคนเดียวเท่านั้น


3. เอนทิตีพนักงานมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีคลังสินค้าผ่านความสัมพันธ์ของสถานที่ทำงานโดยเป็นความสัมพันธ์แบบ N:1กล่าวคือพนักงานจะต้องสังกัดที่คลังสินค้าแห่งเดียวเท่านั้นแต่คลังสินค้าสามารถมีพนักงานได้หลายคน


4. เอนทิตีสินค้ามีความสัมพันธ์กับเอนทิตีลูกค้าผ่านความสัมพันธ์ของการซื้อขายโดยเป็นความสัมพันธ์แบบ N:1 กล่าวคือสินค้าหนึ่งชิ้นจะถูกซื้อได้โดยลูกค้าเพียงหนึ่งคนแต่ลูกค้าหนึ่งคนสามารถซื้อสินค้าได้หลายชิ้น



บทที่4

วิธีการดำเนินงาน


4.1 ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


วิธีการดำเนินงานได้เริ่มต้นจากการศึกษาทฤษฎีและหลักการทำงานของเทคโนโลยีRFIDซึ่งประกอบไปด้วยส่วนของแท็กซ์และเครื่องอ่าน จากนั้นจึงทำการออกแบบโครงสร้างในส่วนของระบบการจัดการคลังสินค้าโดยใช้หลักการของUMLซึ่งเป็นภาษารูปภาพที่ช่วยแสดงโครงสร้างของระบบได้เป็นอย่างดีมาช่วยในการออกแบบระบบการจัดการสินค้าโดยแผนภาพนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ออกแบบระบบและโปรแกรมเมอร์ทำให้การปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น[1]และในส่วนของการออกแบบระบบฐานข้อมูลนั้นจะเลือกใช้หลักการของ ER-Diagram ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐานอันหนึ่งที่เรียกว่า เอนทิตี (Entity) ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างเอกเทศโดยเอนทิตีแต่ละเอนทิตีจะมีคุณลักษณะเฉพาะของตัวมันเองนั่นคือแอตทริบิว (Attributes) ซึ่งเป็นตัวบอกถึงองค์ประกอบหรือพฤติกรรมเฉพาะของมัน

การออกแบบระบบคลังสินค้า โปรแกรมที่จะพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน

1. การดึงข้อมูลจากตัวอ่าน RFID ที่อ่านข้อมูลจากแท๊กซ์เพื่อแสดงไว้บนแอพพลิเคชั่น บนคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลที่ได้ไปเรียกข้อมูลของสินค้าทั้งหมดจากฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาแสดงผล และสามารถทำการอัพโหลดข้อมูลจากข้อมูลที่เพิ่มในแอพพลิเคชั่นอัพโหลดลงตัว แท๊กซ์ได้

2. เขียนส่วนโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อฐานข้อมูล กำหนดสิทธิในการเข้าถึงฐานข้อมูล และแอพลิเคชั่น GUI ของคลังสินค้าหลัก และคลังสินค้าย่อย เช่น แสดงตารางเวลาที่สินค้าประเภทใด จะถูกจัดส่ง คลังย่อยแต่ละคลังมีตารางเวลาในการส่งสินค้าที่ต่างกัน หรือแสดงข้อมูลของสินค้าที่ถูกขายออกจากคลังสินค้า โดยแสดงเป็น วัน เดือน ไตรมาส เป็นต้น

3. ในการสั่งซื้อสินค้าของคลังย่อยไปยังคลังสินค้าหลัก เมื่อคลังสินค้าย่อยมีการขายสินค้า

สินค้าที่ขาดจะถูกส่งจำนวนสินค้าไปยังคลังสินค้าหลัก เพื่อทำการจองสินค้าที่มีอยู่ในคลัง

หลักหรือสั่งสินค้าเพิ่มในกรณีที่สินค้าหมดในคลังหลัก

4. เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในคลัง จะมีการกำหนดตำแหน่งสินค้าที่นำเข้ามาโดยอัตโนมัติ

ในแต่ละคลังสินค้า

5. พัฒนาแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบคลังสินค้า เช่น มีการ

คำนวณหาสินค้าที่ขายได้ดีในช่วงเวลาใด เป็นต้น




4.2 ติดตั้งเครื่องมือสำหรับการพัฒนา

1. ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft SQL Server 2005 Express

2. ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft SQL Server Management Studio Express

3. ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2005 โดยเลือก ภาษา C#

4. ทำการนำฐานข้อมูลคลังสินค้าเข้าสู่โปรแกรม Microsoft SQL Server 2005

ปัญหาการใช้งาน เนื่องจากการทำงานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ RFID เพื่อทำการอ่านข้อมูล ซึ่งทำให้การทำงานบางส่วนที่ต้องใช้อุปกรณ์ RFID ไม่สามารถทำงานได้

และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ไม่สามารถหาวิธีในส่วนของการนำแอพพลิเคชั่นเพื่อติดต่อฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติได้ จึงทำให้ต้องมีการแก้ไขส่วนโค้ดของโปรแกรมเพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางในการติดต่อฐานข้อมูล ตามชื่อเซิพเวอร์ของแต่ละเครื่อง โดยเมื่อทำการเปิดไฟล์ .sln ของแต่ละโฟลเดอร์ในแอพพลิเคชั่น ให้เลือกไฟล์ .cs เช่น ในโฟลเดอร์ ImportProduct ให้เลือก ไฟล์ Import.cs จะแสดงกราฟฟิก ให้เราทำการเลือก sqlConnection เช่น และกดคลิ๊กขวาแล้วเลือก Properties ให้เลือก ConnectionString ซึ่งจะมีข้อความ เลือก <New Connection...> จะมีไดอะล๊อกแสดงขึ้นมา และทำการกรอกข้อมูลดังรูป

 

รูปที่ 4.1 : แสดงหน้าต่างสำหรับการติดต่อฐานข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทำการกดปุ่ม Test Connection เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และกดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการติดต่อฐานข้อมูลจากนั้นที่ทางขวามือของโปรแกรมจะมีส่วนของSolution Explorerให้คลิ้กขวาที่ แล้วเลือก Rebuild Solutionและกดปุ่ม F5 เพื่อทำการรันโปรแกรม

สำหรับขั้นตอนการนำฐานข้อมูลคลังสินค้าเพิ่มเข้าสู่ Microsoft SQL Server 2005 นั้นจะเริ่มต้นด้วยการกดปุ่ม Connect เพิ่มเข้าสู่โปรแกรมจากนั้นคลิ้กขวาที่แถบ Databasesเพื่อเลือก Attach จะปรากฎหน้าต่างให้คลิ้กเลือกปุ่ม Add... แล้วเลือกไฟล์Main Warehouse.mdf ซึ่งอยู่ภายใน CD Rom ภายในโฟลเดอร์ Database แล้วคลิ้กที่ปุ่ม OK

 

รูปที่ 4.2 : แสดงหน้าต่างเริ่มต้นการเข้าสู่ฐานข้อมูล

 

รูปที่ 4.3 : การเพิ่มฐานข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5

ผลการดำเนินงาน

การทำงานของระบบจัดการคลังสินค้า เป็นการมองภาพการทำงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นในคลังสินค้า โดยเริ่มจากเมื่อสินค้าในคลังสินค้ามีจำนวนไม่พอกับการขาย ต้องทำการสั่งสินค้าจากโรงงานผู้ผลิต เมื่อสินค้านั้นส่งมายังคลังสินค้า จะถูกนำเข้าคลังสินค้าโดยผ่านระบบ RFID และมีการจัดการข้อมูลสินค้าในคลังสินค้า การค้นหาสินค้าทั้งหาข้อมูลในปริมาณมาก และใช้ระบบ RFID เพื่ออ่านข้อมูลสินค้าที่มีแท๊กซ์สินค้า เมื่อสินค้าถูกสั่งและถึงเวลาที่ต้องส่งสินค้าออก การอ่านสินค้าส่งออกผ่านระบบ RFID และการขายสินค้า คิดยอดรวมราคาสินค้า โดยอ่านข้อมูลผ่านระบบ RFID เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนในการทำงานของแอพพลิเคชั่นแบ่งได้เป็น 5 ส่วน ในการจัดการคลังสินค้า ดังนี้


1. สั่งสินค้าจากโรงงานผลิต


2. สินค้านำเข้าคลังสินค้าด้วยระบบ RFID


3. ตรวจสอบรายการสินค้าในคลังสินค้า


4. สินค้าส่งออกคลังสินค้าด้วยระบบ RFID


5. ขายสินค้าด้วยระบบ RFID


สั่งสินค้าจากโรงงานผลิต (Order from Factory)

แอพพลิเคชั่นการสั่งสินค้าจากโรงงานผลิต เมื่อสินค้าในคลังสินค้าไม่มีเหลือในสต๊อค

หรือสินค้ามีจำนวนน้อย ผู้ควบคุมสินค้าจะทำการสั่งสินค้าเพิ่มเข้ามาในคลังสินค้า เพื่อส่งรายการสินค้าไปยังโรงงานผลิตสินค้า โดยทำการกรอกข้อมูลของรหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนสินค้า ประเภทสินค้า ต้นทุน ราคาขาย จุดหมาย จำนวนสินค้าที่ต้องการสั่ง และทำการกดปุ่มยืนยัน เพื่อเพิ่มยอดรายการสั่งสินค้าลงสู่ฐานข้อมูลการสั่งสินค้า ในกรณีที่เพิ่มจำนวนสินค้ามากกว่า 1 ชิ้น รหัสสินค้าจะทำการสร้างรหัสสินค้าจากรหัสปัจจุบันและเพิ่มขึ้นทีละ 1 หากมีการซ้ำกันของรหัสสินค้า สินค้านั้นจะไม่ถูกเพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูล ทำการลบโดยกดปุ่มลบรายการหากมีข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล กดปุ่มลบรายการทั้งหมดเพื่อทำการลบข้อมูลในกล่องข้อความ ผิดพลาด







 

รูปที่ 5.1 : แอพพลิเคชั่นการสั่งสินค้าจากโรงงานผลิต

 

สินค้านำเข้าคลังสินค้าผ่านระบบ RFID ( Import Product by RFID)

เมื่อนำสินค้าจากภายนอกเข้ามายังคลังสินค้า ผู้ควบคุมสินค้าเลือกปุ่มเชื่อมต่อและทำการอ่านข้อมูลสินค้าด้วยตัวอ่าน RFID เพื่อจับสัญญาณของแท๊กซ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งสามารถตรวจจับได้ครั้งละ 1 รายการ โดยจะแสดงข้อมูลที่อยู่ในแท๊กซ์ และทำการดึงข้อมูลในฐานข้อมูลการสั่งสินค้า มาแสดงผลบนกล่องข้อความ กดปุ่มยืนยันเพื่อทำการยืนยันว่าสินค้าชิ้นนั้นถูกตรวจสอบแล้ว ซึ่งจะมีการเช็คในคอลัมน์ตรวจสอบ และกดปุ่มลบเพื่อยกเลิกการตรวจสอบในกรณีที่สินค้ามีความ















 

รูปที่ 5.2 : แอพพลิเคชั่นสินค้านำเข้าคลังสินค้าผ่านระบบ RFID

 

รูปที่ 5.3 : ทำการอ่านข้อมูลจากหัวอ่าน RFID

ตรวจสอบรายการสินค้าในคลังสินค้า (Check over Product)

สินค้าต่างๆที่อยู่ในคลังสินค้ามีปริมาณมากระบบค้นหาสินค้าจะช่วยให้การหาสินค้าที่ต้องการทำได้ง่ายขึ้น โดยสามารถหาสินค้าที่มีจำนวนน้อย ซึ่งจะแสดงสินค้าที่มีชื่อเหมือนกันนับเป็นจำนวนเพื่อดูจำนวนของสินค้า และสามารถทำการค้นหาข้อมูลในแต่ละส่วนของข้อมูลที่ต้องการได้ดังนี้ เรียงตามจำนวนสินค้า รหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนสินค้าต่อกล่อง ต้นทุน ราคาขาย ตำแหน่งสินค้า วันหมดอายุ โดยทำการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหาและใส่ข้อความที่ต้องการค้นหาลงไป โดยการค้นหาข้อมูลที่เป็นชนิดข้อความตัวอักษรสามารถค้นหาโดยการใส่ข้อความ การค้นหาข้อมูลชนิดตัวเลขสามารถค้นหาด้วยการใส่ เครื่องหมาย =,<,> แล้วตามด้วยตัวเลข และค้นหาข้อมูลชนิดวันเวลา สามารถค้นหาโดยใส่เครื่องหมาย =,<,>แล้วตามด้วยรูปแบบ MM-DD-YY


 

รูปที่ 5.4 : แอพพลิเคชั่นตรวจสอบรายการสินค้าในคลังสินค้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สินค้าส่งออกคลังสินค้าด้วยระบบ RFID (Export Product by RFID)

เป็นการส่งออกสินค้าไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นลูกค้าหรือส่งสินค้าไปให้กับคลังสินค้าย่อย โดยการนำสินค้าส่งออกผ่านระบบ RFID เมื่อทำการกดปุ่มเชื่อมต่อ ตัวอ่าน RFID ทำการส่งสัญญาณเพื่อหาแท๊กซ์เพื่อดึงข้อมูล เมื่อนำแท๊กซ์ของสินค้านั้นผ่านเครื่องอ่าน RFID ข้อมูลจะแสดงผลบนดาต้ากริด กดปุ่มลบเพื่อลบสินค้าส่งออกที่มีข้อผิดพลาด และกดปุ่มยืนยันเพื่อยืนยันการส่งออกสินค้าทั้งหมด

 

รูปที่ 5.5 : แอพพลิเคชั่นสินค้าส่งออกคลังสินค้าด้วยระบบ RFID

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขายสินค้าด้วยระบบ RFID (Sale System by RFID)

ระบบการขายสินค้าโดยอ่านข้อมูลผ่านตัวอ่าน RFID โดยการนำสินค้าผ่านตัวอ่านเหมือน บาร์โค้ดในปัจจุบัน ข้อมูลรหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาขายสินค้าจะถูกแสดงผลและคำนวณราคารวมของสินค้า เริ่มจากการกดปุ่มเชื่อมต่อ เพื่ออ่านข้อมูลด้วยระบบ RFID และนำสินค้าผ่านตัวอ่านเพื่ออ่านข้อมูลทั้งหมดจากนั้นผู้ใช้งานจะใส่จำนวนเงินที่ได้รับมาลงในช่องของจำนวนเงินซึ่งโปรแกรมจะคำนวณจำนวนเงินทอนออกมาให้โดยอัตโนมัติ และกดปุ่มยืนยันเพื่อยืนยันการซื้อทั้งหมด


รูปที่ 5.6 : แอพพลิเคชั่นขายสินค้าด้วยระบบ RFID

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การบันทึกเวลาเข้าทำงานของพนักงาน

เมื่อพนักงานที่มีบัตรประจำตัวพนักงานซึ่งติดแท๊กซ์ไว้เดินผ่านบริเวณที่สัญญาณของเครื่องอ่านRFID สามารถอ่านได้เครื่องอ่านจะอ่านข้อมูลรหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล ของพนักงานแล้วนำมาแสดงไว้บนโปรแกรมโดยบอกวันและเวลาเข้าทำงานขณะนั้นด้วย

 

รูปที่ 5.7 : บันทึกเวลาเข้าทำงานของพนักงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 6

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

6.1 สรุปการดำเนินงาน

โครงการได้รับการพัฒนาโดยออกแบบและสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ติดต่อกับอุปกรณ์ RFID และฐานข้อมูลของสินค้าเพื่อนำมาแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และสามารถค้นหาสินค้าจากรายละเอียดสินค้าเพื่อให้ผู้จัดการสินค้าสามารถจัดการกับคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในด้านของความรวดเร็วในการตรวจสอบสินค้า ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการตรวจสอบสินค้าและการค้นหาสินค้าที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

6.2 ปัญหาที่พบในการดำเนินงาน


1. เนื่องจากเครื่อง reader ที่ได้นำมาใช้นั้นสามารถอ่านข้อมูลจากแท๊กซ์ได้ที่ระยะทางเพียง 3 เซนติเมตรและสามารถอ่านข้อมูลสินค้าได้เพียงครั้งละ 1 ชิ้นเท่านั้นดังนั้นในการทดสอบใช้งานโปรแกรมจึงทำได้ค่อนข้างลำบาก


2. แท็กส์สามารถเก็บข้อมูลของสินค้าได้เพียง 3 ประเภทเท่านั้นดังนั้นในการออกแบบการเก็บของข้อมูลจึงต้องออกแบบเพื่อให้สามารถเก็บรายละเอียดของสินค้าให้ได้มากที่สุด


6.3 ข้อเสนอแนะ

โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อการจัดการสินค้าภายในคลังสินค้าโดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความรวดเร็วในการจัดการสินค้าและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจนับสินค้าได้

โปรแกรมดังกล่าวยังไม่สามารถคำนวณตำแหน่งจัดวางสินค้าซึ่งคำนวณจากน้ำหนักและความถี่จากการขนย้ายและยังไม่สามารถสร้างฟังก์ชั่นประวัติการขายสินค้าได้เช่นกัน
















ภาคผนวก ก

การติดตั้งโปรแกรม

ติดตั้ง Microsoft Visual Studio 2005 (VS2005)

โปรแกรม VS2005 ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยภาษา C#.NET ทำให้ง่ายในการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นในรูปแบบต่างๆ โดยในโปรเจคนี้ แอพพลิเคชั่นที่ทำการพัฒนาอยู่ในรูปของวินโดว์แอพพลิเคชั่น โดยทำการติดตั้งแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. ทำการติดตั้งโปรแกรมผ่านไฟล์ autorun.exe บนไดเรคทอรี่ %Microsoft Visual Studio 2005\vs

2. เลือก Install Visual Studio 2005

3. ทำการใส่ ซีดีคีย์ และเลือกการทำงานในส่วนที่เราใช้งาน ในที่นี้เลือกต้องทำการเลือก ภาษา C#

4. ทำการติดตั้ง โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2005

ติดตั้ง SQL Server Express 2005

โปรแกรม SQL Server ใช้ในการสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อช่วยในการพัฒนาโปรแกรม เพื่อทำการเก็บข้อมูลจำนวนมาก โดยทำการติดตั้งแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://msdn.microsoft.com/vstudio/express/sql/download/ จะได้ไฟล์ SQLEXPR.EXE ซึ่งใช้ในการติดตั้งโปรแกรม SQL Server ทำตามข้อ 2

หรือ ติดตั้งจากขั้นตอนการติดตั้ง Microsoft Visual Studio 2005

หากทำการติดตั้งฐานข้อมูลผ่านไฟล์ SQLEXPR.EXE ทำการติดตั้งตามข้อสอง แต่หากติดตั้งจาก VS2005 แล้วสามารถข้ามขั้นตอนไปที่ข้อ 5

2. ทำการคลิ๊กเลือก เพื่อยอมรับให้ทำการติดตั้งโปรแกรม

3. จะมีการตรวจสอบสถานะต่างๆ หากเกิดข้อผิดพลาดสามารถดูได้จากปุ่ม Report

4. ทำการกำหนดชื่อระบบจัดการฐานข้อมูล กำหนดไดเรคทอรี่ ชื่อเซิร์พเวอร์ โดยใช้ดีฟอล์ท และทำการกำหนด ยูสเซอร์ sa และ password และทำการติดตั้งโปรแกรม


5. ทำการเปิดเซอร์วิส เพื่อทำให้ฐานข้อมูลเริ่มทำงานก่อน โดยสามารถเปิดได้จาก Start Menu >> เลือก Microsoft SQL Server 2005 >> เลือก Configuration Tools >> เลือก SQL Server Configuration Manager และคลิ๊กขวาที่ SQLEXPRESS เพื่อทำการเริ่มการบริการ








ติดตั้ง SQL Server Management Studio Express

โปรแกรม SQL Server Management Studio ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล สร้างฐานข้อมูล ตาราง ยูสเซอร์ กำหนดสิทธิการเข้าถึง เป็นต้น โดยทำการติดตั้งแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://msdn.microsoft.com/vstudio/express/sql/download/ จะได้ไฟล์ SQLServer2005_SSMSEE.msi


2. ทำการติดตั้งโปรแกรม SQL Server Management Studio ผ่านไฟล์ SQLServer2005_SSMSEE.msi


3. กำหนดไดเรคทอรี่และทำการติดตั้งโปรแกรม


4. ในตอนแรกการเข้าถึงฐานข้อมูลจะเข้าถึงได้ดังรูปที่ ก.1

 

รูปที่ .1 : แสดงการเข้าถึงฐานข้อมูล


5. ทำการล็อกอินและกำหนดสิทธิให้กับยูสเซอร์ sa โดยทำการเลือกที่โฟลเดอร์ Security >> Logins >> คลิ๊กขวาเลือก Properties ที่ยูสเซอร์ sa และทำการกำหนดสถานะ ดังรูปที่ ก.2










 

รูปที่ ก.2 : แสดงการกำหนดสิทธิให้กับยูสเซอร์ sa

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก ข

การติดตั้งแอพพลิเคชั่นของระบบคลังสินค้า

นำฐานข้อมูลคลังสินค้าเข้าสู่ฐานข้อมูลใหม่


1. นำไฟล์ Main Warehouse.mdf และ Main Warehouse_log.ldf ไว้ที่ไดเรคทอรี่


%Microsoft SQL Server\MSSQL.1\MSSQL\Data


2. เปิดโปรแกรม SQL Server Management Studio Express และทำการล็อกอิน


3. คลิ๊กขวาที่โฟลเดอร์ Databases และเลือก Attach...


4. คลิ๊กปุ่ม Add และทำการเลือกไดเรคทอรี่ที่เก็บไฟล์ทั้งสองไว้ ในที่นี้คือ %Microsoft SQL Server\MSSQL.1\MSSQL\Data เลือกไฟล์ Main Warehouse.mdf กดปุ่ม OK


แก้ไขชื่อเซิร์พเวอร์ภายในซอร์สโค้ด


1. เปิดโปรแกรม Visual Studio และเลือกไฟล์โปรเจค warehouse.sln


2. สร้างการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล โดยเลือกที่แท๊ป View และ Server Explorer หรือกด Ctrl+Alt+S


3. ทำการคลิ๊กขวาที่ Data Connections และกด Add Connection


4. ทำการเพิ่มข้อมูลดังรูปที่ ข.1






 

รูปที่ ข.1 : แสดงการเพิ่มข้อมูลเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล


5. เลือกที่แท๊ป View และ Solution Explorer หรือกด Ctrl+Alt+L


6. เลือกไฟล์ MainWarehouse.cs


7. คลิ๊กขวาที่ sqlConWH และเลือก Properties ดังรูปที่ ข.2






 

รูปที่ ข.2 : แสดงการเลือกตามข้อที่กำกับ


8. เลือก ConnectionString และกดลูกศร ทำการเลือก Connection ที่เพิ่มในหัวข้อที่ 3 ดังรูปที่ ข.3

 

รูปที่ ข.3 : แสดงการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล

 

 

 


9. เลือก include Password


10. ทำการแก้ไขตั้งแต่หัวข้อที่ 6-9 ในทุกฟอร์ม เพื่อกำหนดให้ติดต่อกับฐานข้อมูลของเซิร์พเวอร์ภายในเครื่อง

ใช้งานโปรแกรมระบบจัดการคลังสินค้า


1. เลือกไดเรคทอรี่ %Warehouse\Warehouse\bin\Debug


2. ทำการรันไฟล์ warehouse.exe


























บรรณานุกรม

[1] ข้าวโพดหวาน ( 2546 ) . Model-View-Controller (MVC) คืออะไร .

[http://www.narisa.com/forums/lofiversion/index.php?t1036.html] .

15 กรกฎาคม 2549.

[2] นริศรา เพชรพนาภรณ์ . เทคโนโลยี Barcode.

[http://www.student.chula.ac.th/~46801474].

11 กรกฎาคม 2549.

[3] นฤมล นำจันทร์ , สุวรรณา รัศมีขวัญ ( 2545 ). เทคโนโลยี RFID.

[ http://angsila.compsci.buu.ac.th/~sc440061/ ] .

12 มิถุนายน 2549.

[4] วัชรากร หนูทอง, อนุกูล น้อยไม้ , ปรินันท์ วรรณสว่าง ( 2547 ). RFID เทคโนโลยีสารพัดประโยชน์.

[ www.tidi.nectec.or.th/articles/RFID_tech_nectec.pdf ] .

15 กรกฎาคม 2549.

[5] Patrick J.Sweeney II CEO of ODIN Technologies,an RFID company,

"RFID FOR DUMMIES", Wiley Publishing, Inc.,

2548.

[6] กิตติ ภักดีวัฒนะกุล , กิตติพงษ์ กลมกล่อม ( 2547 ) . UML วิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ .

บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด.

[7] บุญฤทธิ์ กู้เกียรติกูล . ระบบฐานข้อมูล Database System.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 


Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...